วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไดโนเสาร์ในวัฒนธรรมสมัยนิยม


แม้ว่ายุคสมัยของไดโนเสาร์สิ้นสุดลงเป็นเวลาหลายสิบล้านปีแล้ว แต่ปัจจุบันไดโนเสาร์ยังคงปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ นิยายหลายเล่มมีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ เช่น เพชรพระอุมา ของ พนมเทียน, เดอะลอสต์เวิลด์ (The Lost World) ของ เซอร์ อาเทอร์ โคแนน ดอยล์, และ "จูราสสิค พาร์ค" (ซึ่งถ้าสะกดตามหลักการถ่ายคำต้องสะกดเป็น จูแรสซิกพาร์ก) ของ ไมเคิล ไครช์ตัน (Michael Crichton) ไม่เพียงแต่ในหนังสือนิยายเท่านั้น การ์ตูนสำหรับเด็กก็มีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ด้วยเช่นกัน เช่นในเรื่อง มนุษย์หินฟลินท์สโตน (The Flintstones) โดราเอมอน ตำรวจกาลเวลาและก๊องส์

นอกจากนี้ ไดโนเสาร์ยังได้ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น คิงคอง (ปี ค.ศ. 1933) และ จูราสสิค พาร์ค (ปี ค.ศ. 1993) ซึ่งภาพยนตร์เรื่องหลังนี้ดัดแปลงมาจากนิยายของ ไมเคิล ไครช์ตัน และประสบความสำเร็จอย่างสูง เป็นการปลุกกระแสไดโนเสาร์ให้คนทั่วไปหันมาสนใจกันมากขึ้น ในปีค.ศ. 2000 Walt Disney ได้นำไดโนเสาร์มาสร้างเป็น ภาพยนตร์แอนิเมชัน ชื่อเรื่องว่า Dinosaur

ในปี 2549 มีภาพยนตร์เรื่องเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ชื่อ Night at the Museum ของ ชอน เลวี่ (Shawn Levy) มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งต่างๆในพิพิธภัณฑ์ที่ต้องคำสาบให้กลับมีชีวิตขึ้นมาในตอนกลางคืน มีตัวเอกตัวหนึ่งเป็นไดโนเสาร์ชื่อซู (Sue) ซึ่งเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ทีเร็กที่มีความสมบูรณ์ที่สุด มีขนาดลำตัวยาวกว่า 12.8 เมตร และความสูงถึงสะโพก 4 เมตร [3] ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Field Museum ที่ชิคาโก

ระหว่าง 23 กรกฎาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2550 ทางองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช) ได้นำโครงกระดูกของซู มาจัดแสดงร่วมกับไดโนสาร์ที่พบในประเทศไทย ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง5 ปทุมธานี

ในประเทศไทย ไดโนเสาร์ได้รับเลือกให้เป็นสัตว์ประจำจังหวัดของจังหวัดขอนแก่น ส่วนในภาษาไทยนั้น ไดโนเสาร์มีความหมายนัยประหวัดสำหรับใช้เรียกคนหัวโบราณ ล้าสมัย และน่าจะสูญพันธุ์ไปตั้งนานแล้ว บ้างก็ใช้ว่า ไดโนเสาร์เต่าล้านปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น