วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไดโดเสาร์กินพืช2


ไทรเซอราทอปส์
ไทรเซอราทอปส์ (tricratops) มีฉายาว่า ยักษ์สามเขา ตัวไม่โตนัก ยาวประมาณ 20 ฟุต สูง 10 ฟุต มีขนาดใหญ่กว่าช้างเล็กน้อย ที่ต้นคอมีเกราะใหญ่แผ่คลุมคอและไหล่ ขากรรไกร โค้งเหมือนปากนกแก้ว ชอบเล็มหญ้าเป็นอาหารที่สะดุดตาที่สุด ของเจ้ายักษ์สาม เขานี้ก็คือ มีเขา

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรน

ไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มกินพืช (Sauropods) สกุลและชนิดใหม่ของโลก ที่มีอายุประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว มีขนาดกลางยาวประมาณ 15-20 เมตร มีคอยาว หางยาว และเดินด้วยสี่เท้า ดังแสดงในรูปที่ 16 ไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี พบครั้งแรกใน พ.ศ. 2535 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อ. ภูเวียง จ.ขอนแก่น นอกจากนี้ ยังพบในแหล่งอื่นเช่น ที่ อ. สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ การตั้งชื่อตั้งตามชื่อตามอุทยานที่เป็นแหล่งค้นพบครั้งแรก ส่วนชื่อชนิด ตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากในงานโบราณชีววิทยา

ไดโนเสาร์พวกดิพโพลโดซิดส์นั้น เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเชียนอย่าง เด่นชัด สังเกตจากกระดูกสะโพกส่วนล่างตอนหน้า(พิวบิส) จะชี้ไปข้างหน้าไม่ได้ชี้ไปข้างหลังขนานไปกับอิสเชียมเหมือนในพวกออนิธิสเชียน กระดูกสะโพกนี้จะแข็งแรงมาก ทำให้สามารถรับแรงดึงได้เป็นพิเศษ

อะแพททอซอรัส

อะแพททอซอรัส (Aapatosarus) มีฉายาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง ถูกค้นพบในยุคแรกๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 มีลักษณะ คอยาว หัวเล็ก หางยาวมาก ๆ ประมาณ 24-27 เมตร ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว จึงได้ชื่อว่า อะแพททอซอรัสแปลว่า สัตว์เลื้อยคลานหัวหาย ที่สำคัญลักษณะเจ้านี้ประหลาดมากคือ มีหัวใจ 7-8 ดวง เรียงจาก อกถึงลำคอ เพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ ยังมีรูจมูกอยู่บนกระหม่อมชอบอยู่ในน้ำลึก พวกนี้มีฟันทื่อไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไร ไม่ได้นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น



อิกัวโนดอน

ไดโนเสาร์ อิกัวโนดอน (Iguanodon) เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีกระดูกเชิงกราน แบบนก พบฟอสซิลในเบลเยียม มองโกเลีย อังกฤษ เยอรมนี มีขนาดใหญ่ ยาว 7-10 เมตร ขาหลังใหญ่แข็งแรง มี 3 นิ้ว ขาหน้าสั้นกว่า นอกจากนี้ที่มือยังมีนิ้วโป้งที่แหลมคม เป็นอาวุธที่น่ากลัวสำหรับการต่อสู้ในระยะประชิดตัว นิ้วที่เหลือเป็นกีบจึงใช้เดินได้ด้วย ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายม้า มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากส่วนบนใช้เล็มพืช และฟันจำนวนมากบนกราม 2 ข้าง ใช้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกช่วงปลายถึงยุคครีเทเชียส

ลักษณะทางกายวิภาคของกะโหลกไดโนเสาร์พวกอิกัวโนดอนทิดส์ นั้นค่อนข้าง จะแตกต่างกันมาก แต่ทั้งหมดนั้นจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย มีจมูกยาว และตอนปลายจมูกกว้าง มีจงอยปากที่ไม่มีฟันที่ส่วนหน้า สำหรับเล็มพืชเป็นอาหาร และมีฟันจำนวนมากที่กรามทั้ง 2 ข้าง ใช้สำหรับบดเคี้ยวพืชก่อนที่จะกลืนลงคอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น