วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสูญพันธ์ของไดโดเสาร์2


เหตุการณ์การสูญพันธุ์ในยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี

เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี เกิดขึ้นเมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว เป็นหนึ่งในการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีการสูญพันธุ์ครั้งนี้เกิดหลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสสิก ซึ่งอยู่ระหว่าง 214-199 ล้านปีก่อน ส่วนในปลายยุคครีเทเชียส ซึ่งกวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% รวมถึงพวกไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ และสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเล[ต้องการอ้างอิง] สิ่งมีชีวิตที่ไม่สูญพันธุ์ ได้แก่พวกหนู สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก เต่า ปลาซีลาแคนด์ และงู[ต้องการอ้างอิง] สาเหตุการสูญพันธุ์สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกบริเวณคาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก


ทฤษฎีต่างที่อธิบายการสูญพันธุ์

ทฤษฎีอุกบาตชนโลก เป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุด โดยสาเหตุของทฤษฎีนี้ เพราะว่ามีการค้นพบหลุมอุกบาต ขนาด 10.กม ในบริเวณแหลมยูกาตัน ประเทศเม็กซิโก และนอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอิริเดียม ที่พบมากในอุกกาบาต ในบริเวณแหลมยูกาตันด้วย ซึ่งแร่ธาตุอิริเดียม พวกนี้อาจมาจากอุกบาตที่พุ่งชนโลก ในบริเวณนั้น

ทฤษฎีภูเขาไฟระเบิด เป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อถือเช่นเดียวอุกบาตพุ่งชนโลก ซึ่งภูเขาไฟทั่วโลกอาจระเบิดพร้อมกัน ทำให้พืชที่ไดโนเสาร์กินพืชกินนั้นเป็นพิษเมื่อมันกินเข้าไป ทำให้พวกไดโนเสาร์กินพืชต่างล้มตาย และเมื่อพวกกินเนื้อไม่มีอาหารคือพวกกินพืช พวกมันก็ล่ากันเอง จนสูญพันธุ์ในที่สุด

ทฤษฎีอากาศหนาวขึ้นและการเปลียนแปลงกระทันหันของสภาพแวดล้อม โดยฤดูกาลในโลกอาจเปลี่ยนแปลง ทำให้มีหิมะตก จนอากาศหนาวขึ้น และเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง พวกสัตว์อาจปรับตัวไม่ทันและสูญพันธุ์ในที่สุด

ทฤษฎีไข่ถูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขโมย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินไข่อาจเพิ่มจำนวนขึ้น และเข้าไปกินไข่ของสัตว์อื่น แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นสัตว์เลื้อยคลานใต้ทะเลพวกอิกธีโอซอร์ ที่ไม่วางไข่บนบกจะไม่สูญพันธุ์ รวมทั้งแอมโมไนต์ ปลาในมหายุคมีโซโสอิคด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น