วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสูญพันธ์ของไดโดเสาร์



การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ (อังกฤษ: Mass Extinction) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นข้อสันนิษฐานว่า เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตบนโลกหลากชนิดหลายสายพันธุ์ต้องสูญพันธุ์ไปในเวลาพร้อมๆกันหรือไล่เลี่ยกัน
เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงครั้งเดียว ในช่วง ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ หากแต่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง การประเมินระยะเวลาการเกิดเหตุการณ์ ทำโดยการวินิจฉัยจากซากฟอสซิลจากทะเลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องมาจากว่าสามารถ ค้นพบได้ง่ายกว่าฟอสซิลที่อยู่บนบก
เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก

สมมติฐานเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่อประมาณ 300 ล้านปีที่แล้ว

ไฟล์:Pteridosperm.jpg
ดอกเตอร์ โฮวาร์ด ฟอลคอน-แลงค์ (Dr. Howard Falcon-Lang) แห่งมหาวิทยาลัยบริสทอล (University of Bristol) และทีมนักวิจัย ได้ค้นพบซากฟอสซิลป่าฝน ซึ่งคาดการณ์ว่ามีอายุราวๆ 300 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งประกอบไปด้วยพืชที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายชนิดปะปนกันอยู่ มีสนหางม้ายักษ์ (horsetails) มีพืชตระกูลมอส (mosses) อยู่รวมกับพวกเฟิร์นยักษ์ที่สูงประมาณ 4 เมตร บางต้นมีขนาดถึง 40 เมตร ซึ่งจากการประเมินคาดว่า ฟอสซิลป่าฝนนี้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้แผ่นดินยุบตัวลงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เป็นผลให้ผืนป่าทั้งหมดจมลงไปในโคลนกลายเป็นฟอสซิล มาถึงปัจจุบัน พื้นที่ป่าฟอสซิลที่ค้นพบนี้มีขนาดประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร การค้นพบดังกล่าวไม่นับว่าเป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ แต่ช่วยสนับสนุนความเป็นไปได้ของสมมติฐานและทฤษฎีต่างๆ เช่น การสูญพันธุ์จากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น