วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (อังกฤษ: fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้นๆซากดึกดำบรรพ์มีหลายชนิด อาจเป็นสิ่งที่มีความคงทนยากต่อการทำลาย เช่น ฟัน กระดูก หรือ เปลือก แต่ในบางสภาวะ อาจมีการเก็บรักษาซากสัตว์ทั้งตัวให้คงอยู่ได้ เช่น ช้างแมมมอท ที่ไซบีเรีย

การเปลี่ยนแปลงจากซากสิ่งมีชีวิตมาเป็นซากดึกดำบรรพ์นั้น เกิดได้ในหลายลักษณะ โดยที่เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ส่วนต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆถูกเปลี่ยน ช่องว่าง โพรง หรือรู ต่างๆในโครงสร้างอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น เรียกขบวนการนี้ว่าการกลายเป็นหิน (petrification) หรือ เนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ ถูกแทนที่ด้วยแร่ โดยขบวนการแทนที่ (replacement)

เปลือกหอยหรือสิ่งมีชีวิตที่จมอยู่ตามชั้นตะกอน เมื่อถูกละลายไปกับน้ำบาดาล จะเกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า รอยพิมพ์ (mold) หากว่าช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึก จะได้ซากดึกดำบรรพ์ ในลักษณะที่เรียกว่ารูปหล่อ (cast)

การเพิ่มคาร์บอน (carbonization) มักเป็นการเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์จำพวกใบไม้หรือสัตว์เล็กๆ ในลักษณะที่มีตะกอนเนื้อละเอียดมาปิดทับซากสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซถูกขับออกไป เหลือไว้แต่แผ่นฟิล์มบางๆของคาร์บอน หากว่าฟิล์มบางๆนี้หลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดจะเรียกว่า impression

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบาง เช่นพวกแมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ โดยปกติทำได้ยาก วิธีการที่เหมาะสม สำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ก็คือการเก็บไว้ในยางไม้ ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จากการทำลายโดยธรรมชาติ

นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ยังอาจเป็นร่องรอย ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต รอยคืบคลาน รอยตีน ที่อยู่ในชั้นตะกอนและกลายเป็นหินในระยะเวลาต่อมา หรืออาจเป็นช่อง รู โพรง (burrows) ในชั้นตะกอน ในเนื้อไม้ หรือในหินที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และมีแร่ไปตกผลึกในช่องเหล่านี้ มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ (coprolites) เป็นซากดึกดำบรรพ์ ที่มีประโยชน์ในการบอกถึงนิสัยการกินของสัตว์นั้นๆ หรืออาจเป็นก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (gastroliths) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร

ประเภทของซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์สามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักเกณฑ์อะไรเป็นบรรทัดฐาน การพยายามจำแนกตามหลักอนุกรมวิธานตามแบบชีววิทยา อาจพบกับข้อจำกัด เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วซากดึกดำบรรพ์มักเป็นส่วนซากเหลือจากการผุพังสลายตัว ส่วนใหญ่เป็นส่วนที่แข็ง มีความทนทานต่อการผุพังสลายตัวสูงกว่าส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม เช่น กระดูก ฟัน กระดอง เปลือก และสารเซลลูโลสของพืชบางส่วน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับประเภทนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์ (นักบรรพชีวินวิทยา) ในปัจจุบัน ในที่นี้จะจำแนกซากดึกดำบรรพ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ




2.ซากดึกดำบรรพ์พืช


-ซากดึกดำบรรพ์ใบไม้

-ซากดึกดำบรรพ์ดอก


-ซากดึกดำบรรพ์ผลไม้

-ซากดึกดำบรรพ์เมล็ด



โครงสร้างกระดูกไดโนเสาร์
















ลักษณะที่ 1 Stegosaros
ลักษณะที่ 2 Triceraatops




ลักษณะที่ 3 Miaarara




ลักษณะที่ 4 Euoplocephalus



ลักษณะที่ 5 Albertosarus



ลักษณะที่ 6 Ornithomimus



ลักษณะที่ 7 Camarasaurus

ไดโดเสาร์กินพืช4



โคริโทซอรัส (อังกฤษ: Corythosaurus) เป็นไดโนเสาร์จำพวกแฮดโดรซอร์ อาศัยช่วงปลายยุคครีเตเซียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ขนาด 12 เมตร ริว เท ซูน ฟอสซิลของมันพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อแปลว่ากิ้งก่ามงกุฏ ลักษณะปากของโคริโทซอรัสคล้ายกระสุนปืน สามารถกินหินได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว มันเป็นหนึ่งในเหยื่อ ที่โปรดปราณ ของ ไทรันโนซอรัส
ไฟล์:Saltasaurus BW.jpg
ซัลตาซอรัส (Saltasaurus) ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 - 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12 เมตร หนัก 7 ตัน
เช่นเดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อปีค.ศ.1980
ไฟล์:SeismosaurusDB.jpg
ไดพลอโดคัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplodocus (เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /daɪˈplɒdəkəs/)) หรือ กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ ดิพโพลโดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่นเดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร( David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร[ต้องการอ้างอิง]) แต่หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 - 147 ล้านปีก่อน
ไดพลอโดคัส เป็นสายพันธุ์ที่แยกประเภทได้ง่าย เนื่องจาก ลักษณะตามแบบไดโนเสาร์ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย และเอียงลาด ตาลึก รูจมูกอยู่เหนือตา จมูกกว้าง คอและหางยาว ปลายแส้ที่หางยาวมากกว่า อะแพทโตซอรัส ขา 4 ข้างที่ใหญ่โตเหมือนเสา ลักษณะที่โดดเด่นคือ เงี่ยงกระดูกเป็นคู่ที่ยื่นโผล่ออกมาจากกระดูกสันหลังตั้งแต่หลังคอเรียงรายไปถึงหาง
หลายปีก่อน ไดพลอโดคัส เคยเป็น ไดโนเสาร์ที่ตัวยาวที่สุด ขนาดตัวมหึมาของมัน เป็นอุปสรรคระดับหนึ่งต่อนักล่า อย่าง อัลโลซอรัส พบที่อเมริกาเหนือ อยู่ในยุคจูราสสิคตอนปลาย

ไดโดเสาร์กินพืช3


ไมอาซอรา

ไมอาซอรา (อังกฤษ: Maiasaura) เป็นไดโนเสาร์ปากเป็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อเสียงในการเลี้ยงลูก จัดอยู่ในพวกออร์นิทิสเชียน ในปีค.ศ. 1970 ในรัฐมอนเทน่า สหรัฐอเมริกา ได้มีการค้นพบรังของฝูงไมอาซอราพร้อมลูกๆของมัน แต่ละรังห่างกันประมาณ 6 เมตร จึงเป็นหลักฐานว่าไดโนเสาร์ก็เลี้ยงลูกเหมือนกัน ความยาวประมาณ 9 เมตร อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 80-75 ล้านปีก่อน ฟอสวิลของมันค้นพบที่ทวีปอเมริกาตั้งแต่ที่สหรัฐอเมริกา ไปจนถึงรัฐอะแลสกา มันเป็นเหยื่อตัวโปรดของเทอโรพอดชื่อแดซพีโตซอรัส ญาติของมันคืออิกัวโนดอน และอนาโตไททัน
คามาราซอรัส (อังกฤษ: Camarasaurus) เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น


 

เคนโทรซอรัส (อังกฤษ: Kentrosaurus) ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่าแหลมคม เพราะลำตัวส่วนหน้าของมันมีแผงกระดูอยู่ ส่วนจากหลังถึงหางของมันมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย มันยาว 3-5 เมตร พบที่แอฟริกา อาวุธหลักของมันคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร



แคมป์โทซอรัส (อังกฤษ: Camptosaurus - กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า

เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอรัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนักเนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมักกลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมันเริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่างอิกัวโนดอน




ไดโดเสาร์กินพืช2


ไทรเซอราทอปส์
ไทรเซอราทอปส์ (tricratops) มีฉายาว่า ยักษ์สามเขา ตัวไม่โตนัก ยาวประมาณ 20 ฟุต สูง 10 ฟุต มีขนาดใหญ่กว่าช้างเล็กน้อย ที่ต้นคอมีเกราะใหญ่แผ่คลุมคอและไหล่ ขากรรไกร โค้งเหมือนปากนกแก้ว ชอบเล็มหญ้าเป็นอาหารที่สะดุดตาที่สุด ของเจ้ายักษ์สาม เขานี้ก็คือ มีเขา

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรน

ไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มกินพืช (Sauropods) สกุลและชนิดใหม่ของโลก ที่มีอายุประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว มีขนาดกลางยาวประมาณ 15-20 เมตร มีคอยาว หางยาว และเดินด้วยสี่เท้า ดังแสดงในรูปที่ 16 ไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี พบครั้งแรกใน พ.ศ. 2535 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อ. ภูเวียง จ.ขอนแก่น นอกจากนี้ ยังพบในแหล่งอื่นเช่น ที่ อ. สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ การตั้งชื่อตั้งตามชื่อตามอุทยานที่เป็นแหล่งค้นพบครั้งแรก ส่วนชื่อชนิด ตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากในงานโบราณชีววิทยา

ไดโนเสาร์พวกดิพโพลโดซิดส์นั้น เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเชียนอย่าง เด่นชัด สังเกตจากกระดูกสะโพกส่วนล่างตอนหน้า(พิวบิส) จะชี้ไปข้างหน้าไม่ได้ชี้ไปข้างหลังขนานไปกับอิสเชียมเหมือนในพวกออนิธิสเชียน กระดูกสะโพกนี้จะแข็งแรงมาก ทำให้สามารถรับแรงดึงได้เป็นพิเศษ

อะแพททอซอรัส

อะแพททอซอรัส (Aapatosarus) มีฉายาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง ถูกค้นพบในยุคแรกๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 มีลักษณะ คอยาว หัวเล็ก หางยาวมาก ๆ ประมาณ 24-27 เมตร ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว จึงได้ชื่อว่า อะแพททอซอรัสแปลว่า สัตว์เลื้อยคลานหัวหาย ที่สำคัญลักษณะเจ้านี้ประหลาดมากคือ มีหัวใจ 7-8 ดวง เรียงจาก อกถึงลำคอ เพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ ยังมีรูจมูกอยู่บนกระหม่อมชอบอยู่ในน้ำลึก พวกนี้มีฟันทื่อไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไร ไม่ได้นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น



อิกัวโนดอน

ไดโนเสาร์ อิกัวโนดอน (Iguanodon) เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีกระดูกเชิงกราน แบบนก พบฟอสซิลในเบลเยียม มองโกเลีย อังกฤษ เยอรมนี มีขนาดใหญ่ ยาว 7-10 เมตร ขาหลังใหญ่แข็งแรง มี 3 นิ้ว ขาหน้าสั้นกว่า นอกจากนี้ที่มือยังมีนิ้วโป้งที่แหลมคม เป็นอาวุธที่น่ากลัวสำหรับการต่อสู้ในระยะประชิดตัว นิ้วที่เหลือเป็นกีบจึงใช้เดินได้ด้วย ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายม้า มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จะงอยปากส่วนบนใช้เล็มพืช และฟันจำนวนมากบนกราม 2 ข้าง ใช้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร มีชีวิตอยู่ในยุคจูแรสซิกช่วงปลายถึงยุคครีเทเชียส

ลักษณะทางกายวิภาคของกะโหลกไดโนเสาร์พวกอิกัวโนดอนทิดส์ นั้นค่อนข้าง จะแตกต่างกันมาก แต่ทั้งหมดนั้นจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย มีจมูกยาว และตอนปลายจมูกกว้าง มีจงอยปากที่ไม่มีฟันที่ส่วนหน้า สำหรับเล็มพืชเป็นอาหาร และมีฟันจำนวนมากที่กรามทั้ง 2 ข้าง ใช้สำหรับบดเคี้ยวพืชก่อนที่จะกลืนลงคอ

ไดโดเสาร์กินพืช

สไตสไตราโคซอรัส
ราโคซอรัสหรือไดโนเสาร์มีเดือย มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนปลาย พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นไดโนเสาร์กินพืช 4 เท้า มีความยาวประมาณ 5-6 เมตร กะโหลกศีรษะใหญ่ แผงสร้อยคอสั้นแต่แข็ง มีเดือยที่แผงคอ 6 อัน ชี้ไป ทางด้านหลัง มีเขาแหลมบริเวณหน้าผาก จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มเหมือนนกแก้ว หางค่อนข้างสั้นผิดกับไดโนเสาร์พันธุ์อื่น

ซิทตะโคซอรัส
ไดโนเสาร์ซิทตะโคซอรัสหรือไดโนเสาร์นกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชีย
และทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง2เมตรกะโหลกศีรษะแคบกระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขาตาและรูจมูกอยู่ค่อนข้างสูงจะงอย
ปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้วจึงทำให้มันได้ชื่อว่า"ไดโนเสาร์นกแก้ว"หน้า

ดิพโพลโดคัส
ไดโนเสาร์ตระกูลดิพโพลโดซิดส์ ในตอนปลายของยุคจูแรสสิกไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคจูแรสสิกตอนต้น ได้ถูกแทนที่โดยพวกไดโนเสาร์ กินพืชขนาดใหญ่ ซึ่งถูกขนานนามว่าพวกซอโรพอด ซึ่งจะรวมเอาพวกไดโนเสาร์ดัง ๆ ไว้ด้วยเกือบทั้งหมด ไดโนเสาร์กลุ่มที่มีชื่อเสียง รู้จักกันมากที่สุดกลุ่มหนึ่งของพวกซอโรพอด คือพวกตระกูลดิพโพลโดซิดส์ อะแพทโตซอรัส
ดิพโพลโดซิดส์ แบ่งได้เป็น หลายกลุ่ม ค้วยกัน เช่น ดิพโพลโดคัส อะแพทโตซอรัส และอีก 2 ชนิดที่ไม่ค่อยโดงดังนัก เช่น ไดเครโอซอรัส เนเมกโตซอรัส และ แอนตาร์คโตซอรัส แต่จะขอกล่าวถึง แต่ ดิพโพลโดคัส เพราะ ไดโนเสาร์ กลุ่มนี้จะมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่งกันแค่ ส่วนหัวเท่านั้น
1. อะแพทโตซอรัส
ขนาดลำตัว มีขนาดเลาตัวยาว 69 ฟุต (21 เมตร)
2. ดิพโพลโดคัส (Diplodocus : สันคู่)
ลักษณะทั่วไป
ดิพโพลโดคัส (Diplodocus : สันคู่) ค้นพบครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.3413 โดยพบฟอสซิลซึ่งประกอบด้วยกระดูกขาหลัง และกระดูก หางจำนวนมากมาย และต้องใช้เวลาอีหลายปีหลังจึงสามารถประกอบขึ้นได้เป็นรูปร่างโครงกระดูกที่สมบูรณ์ทั้งตัว และชื่อสันคู่ของมันนั้น ได้มาจาก กระดูกหางที่ขุดพบในครั้งแรก มีกระดูกอยู่คู่หนึ่งซึ่งมีลักษณะประหลาดคือ เป็นสันคู่ขวางอยู่ตอนล่างของกระดูกหาง แต่ตัวที่พบนี้ยังไม่ใช่ ตัวที่ใหญ่ที่สุด เจ้าดิพโพลโดคัสนี้มีคอและหางยาวมาก ลำตัวก็มีขนาดใหญ่ มีขาขนาดใหญ่ ยาวคล้ายเสาหิน เพื่อที่จะพยุงน้ำหนัก ของซี่โครงและช่องท้องอันใหญ่โตมโหฬาร เท้าของดิพโพลโดคัส มีลักษณะกลมคล้ายเท้าช้าง นิ้วเท้าก็สั้น แต่ก็มีนิ้วเท้าด้านในนิ้วหนึ่งที่มีเล็บคมและใหญ่มาก เล็บที่ใหญ่นี้อาจจะใช้เป็น เครื่องป้องกันตัวจากพวกเทอโรพอด กินเนื้อขนาดใหญ่ เจ้าดิพโพลโดคัส นี้สามารถยกตัวยืนบนขาหลังได้เหมือนหมีใหญ่ที่ยืนสองขา ข่มขู่ศัตรูและอาศัยขาหน้าสำหรับตะปบป้องกันตัว และอาวุธป้องกันตัวอีกอย่างคือหางที่มีขนาดยาวมาก ส่วนปลายหางซึ่งยาวออกไปน่าจะใช้สำหรับฟาดผู้จู่โจมได้ดีเหมือนกับแส้ทีเดียว ดิโพลโดคัสคงไม่ได้ใช้ส่วนหัวในการป้องกันตัว เพราะมีขนาดเล็กเกินไป แต่ที่ว่าเล็กก็ยังมีขนาดยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร ซึ่งก็นับว่าใหญ่พอสมควร เมื่อเทียบกับหัวสัตว์ทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อเทียบกับขนาดของมันเอง หัวมันจะดูเล็กอย่างน่าขำ ฟันมีลักษณะยาวและ บางเหมือนแท่งดินสอ คำถามที่ว่าเจ้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่มหึมาอย่างพวกนี้ จะกินอาหารได้เพียงพอที่จะทำให้มันมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรเป็นเรื่องน่าสนใจมาก แต่คำตอบธรรมดาคือ ถึงหัวจะมีขนาดเล็กแต่ฟันได้ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะเหมือนคราด คอที่ยาวของมันจะทำหน้าที่เหมือนแขนของปั้นจั่น ยกส่วนหัวขึ้นไปสูงถึงยอดไม้เหมือนกับยีราฟ ทำให้มันสามารถกินใบไม้และกิ่งไม้ได้มากมาย ซึ่งมันจะเก็บไว้ในกระเพาะอันใหญ่โต และจะค่อย ๆ สลายอย่างช้า ๆ